วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.อาเซียนคืออะไร
ที่มา  http://www.thai-aec.com
         http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net
         http://www.lampangvc.ac.th

อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
       

         การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมตัวกันในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN อ่านออกเสียงภาษาไทยว่า อาเซียน โดยมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนก็เพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้ และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ
    
         อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ 
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน


2.อาเซียนมีกี่ประเทศ อะไรบ้าง
ที่มา  http://www.thai-aec.com
         http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net
         http://www.aecaseanfocus.wordpress.com

 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้

 1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน

ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์

ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ


3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้


4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ

ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม

6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก


7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส


8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง

ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ


9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว

10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง

ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย


อาเซียน 10 ประเทศ
กลุ่มชาติสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ เรียงตามตัวอักษร มีดังนี้
*** ท่านสามารถกดที่ชื่อประเทศอาเซียนแต่ละประเทศ เพื่อดูสาระน่ารู้สำคัญๆของประเทศนั้นๆ***
1. ประเทศบรูไน (Brunei)
ประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 ภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศบรูไน
ชื่อภาษาไทย : เนการาบรูไนดารุสซาลาม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Negara Brunei Darussalam
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malay)
สกุลเงิน : ดอลล่าร์บรูไน (Brunei dollar, BND)
พื้นที่ : 2,226 ตารางไมล์ (5,765 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 415,717 คน
การปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 21,907 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 50,440 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

2. ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นลำดับสุดท้าย คือลำดับที่ 10 ทั้งๆที่ยื่นความจำนงค์เข้ามาพร้อมกับลาวและพม่า (ลำดับที่ 8 และ 9) แต่เนื่องจากความไม่สงบภายในประเทศ จึงต้องมีการเลื่อนการพิจารณาออกไป จนเมื่อเหตุการณ์สงบแล้ว กลุ่มอาเซียนจึงรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542
ข้อมูลทั่วไปของประเทศกัมพูชา
ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรกัมพูชา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Kingdom of Cambodia
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : พนมเปญ (Phnom Penh)
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
สกุลเงิน : เรียลกัมพูชา (Riela, KHR)
พื้นที่ : 69,898 ตารางไมล์ (181,035 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 15,205,539 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 17,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 1,108 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

3. ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
ประเทศอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนร่วมกับอีก 4 มิตรประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ภายหลังการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Indonesia
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ภาษาราชการ : ภาษาอินโดนีเซีย (Indonesian)
สกุลเงิน : รูเปี๊ยห์ (Rupiah, IDR)
พื้นที่ : 735,358 ตารางไมล์ (1,904,569 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 253,603,649 คน
การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
Time Zone : UTC+7 ถึง +9 (กรุงจาการ์ต้าใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย)
GDP : 2.388 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 9,559 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

4. ประเทศลาว (Laos, PDR)
ประเทศ สปป.ลาว เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 8 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยเข้าเป็นประเทศอาเซียนพร้อมกับพม่า ลาวนับได้ว่าเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศเดียวที่ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งและสำหรับการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในประเทศและส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน
ข้อมูลทั่วไปของประเทศลาว
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Lao People’s Democratic Republic
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว (Lao)
สกุลเงิน : กีบ (Kip, LAK)
พื้นที่ : 91,429 ตารางไมล์ (236,800 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 6,695,166 คน
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้บริหารสูงสุด
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 20,780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 3,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
ประเทศมาเลเซียเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศมาเลเซีย
ชื่อภาษาไทย : มาเลเซีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Malaysia
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur, KL)
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์ (Malaysian Malay)
สกุลเงิน : ริงกิต (Ringgit, MYR)
พื้นที่ : 127,355 ตารางไมล์ (329,847 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 30,000,000 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระราชาธิบดี) เป็นประมุข
Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 555,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 18,509 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

6. ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (Myanmar)
ประเทศพม่า เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียนเป็นลำดับที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (วันเดียวกับประเทศลาว)
ข้อมูลทั่วไปของประเทศพม่า
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Union of Myanmar
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : เนปยีดอ (Naypyidaw)
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า (Burmese)
สกุลเงิน : จ๊าต (Kyat, MMK)
พื้นที่ : 261,227 ตารางไมล์ (676,578 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 51,419,420 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
Time Zone : UTC+6:30 (ช้ากว่าประเทศไทยครึ่งชั่วโมง)
GDP : 111,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 1,711 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

7. ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Philippines
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล็อกและอังกฤษ (Filipino/English)
สกุลเงิน : เปโซ (Peso, PHP)
พื้นที่ : 115,120 ตารางไมล์ (298,170 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 92,337,852 คน
การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
Time Zone : UTC+8 (ช้ากว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 456,418 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 4,682 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

8. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสิงคโปร์
ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Singapor
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง (English/Mandarin
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
พื้นที่ : 276 ตารางไมล์ (716 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 5,399,200 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
GDP : 348,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 64,584 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

9. ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย นอกจากจะเป็นสมาชิก 5 ชาติแรกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนแล้ว ยังเป็นเจ้าภาพในการลงนามเพื่อสร้างข้อตกลงในการสร้างกลุ่มอาเซียนขึ้นมาด้วย โดยการลงนามนี้เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่พระราชวังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงเทพคือบ้านเกิดของอาเซียน
ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย
ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรไทย
ชื่อภาษาอังกฤษ : The Kingdom of Thailand
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ภาษาราชการ : ภาษาไทย (Thai)
สกุลเงิน : บาท (Thai Baht, THB)
พื้นที่ : 198,115 ตารางไมล์ (513,115 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 64,785,909 คน
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
Time Zone : UTC+7
GDP : 673,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 9,874 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

10. ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ประเทศเวีดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ข้อมูลทั่วไปของประเทศเวียดนาม
ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ชื่อภาษาอังกฤษ : Socialist Republic of Vietnam
ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Ha Noi)
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
สกุลเงิน : ด่ง (Dong, VND)
พื้นที่ : 128,565 ตารางไมล์ (331,210 ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร : 89,693,000 คน
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด
Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
GDP : 358,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ต่อหัวประชากร : 4,001 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

เกร็ดความรู้น่าสนใจของ 10 ประเทศอาเซียน
- ประเทศอาเซียนที่ใหญ่ที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย
- ประเทศอาเซียนที่เล็กที่สุด คือ ประเทศสิงคโปร์
- ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์
- ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล คือ ประเทศลาว
- อาเซียน 10 ประเทศ มีพื้นที่รวมกันทั้งหมด 4,479,210.5 ตารางกิโลเมตร (2,778,124.7 ตารางไมล์)
- อาเซียน 10 ประเทศ มีประชากรรวมกันทั้งหมด 640 ล้านคน
- ประเทศอินโดนีเซียมีจำนวนเกาะมากที่สุดในโลก ประมาณ 18,000 เกาะ
- ประเทศที่ไม่มีแหล่งน้ำจืดเลย คือ ประเทศสิงคโปร์
- 10 ประเทศอาเซียน มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันเท่ากับ 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
- 10 ประเทศอาเซียน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรวมกันเท่ากับ 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
- ประเทศอินโดนีเซีย คือประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- ประสิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากรใดๆเลย แต่มีความเจริญมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
- 3 ประเทศอาเซียน คือไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่งออกยางพารารวมกันสูงที่สุดในโลก
- ไทยและเวียดนาม คือสองประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก
- ประเทศอาเซียนมีความยาวชายฝั่งทะเลรวมกันยาว 110,000 กิโลเมตร เกือบ 3 เท่าของเส้นรอบโลก
- อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีเกาะมากที่สุดในโลก คือมีมากกว่า 30,000 เกาะ
- ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ มีการค้าขายระหว่างกันมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ โดยข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิก กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ละประเทศมีดังนี้

1. ข้อมูล ประเทศบรูไน (ฺBRUNEI)
เมืองหลวง บรูไน : บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธนิกายมหายาน 13%, ศาสนาคริสต์ 10%
วันชาติ บรูไน : วันชาติของบรูไน คือวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์
การเมืองการปกครอง บรูไน : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
พื้นที่ :  5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา : ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน
อาหารประจำชาติ บรูไน : อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
สกุลเงิน บรูไน : ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  7 มกราคม 1984

2. ข้อมูล ประเทศกัมพูชา (ฺCAMBODIA)
เมืองหลวง กัมพูชา : กรุงพนมเปญ
ศาสนา : พุทธร้อยละ 95, อิสลามร้อยละ 3, คริสต์ร้อยละ 1.7, พราหมณ์-ฮินดูร้อยละ 0.3
วันชาติ กัมพูชา : 9 พฤศจิกายน
การเมืองการปกครอง กัมพูชา : ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
พื้นที่ :  180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ 5 ชาวจีนร้อยละ 1 และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
อาหารประจำชาติ กัมพูชา : อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
สกุลเงิน กัมพูชา : เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1999

3. ข้อมูล ประเทศอินโดนีเซีย (INDONESIA)
เมืองหลวง อินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ศาสนา : อิสลามร้อยละ 88 คริสต์ร้อยละ 8 ฮินดูร้อยละ 2 พุทธร้อยละ 1 และศาสนาอื่นๆร้อยละ 1
วันชาติ อินโดนีเซีย : วันที่ 17 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พื้นที่ :  1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ อินโดนีเซีย : กาโด กาโด (Gado Gado) ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช 
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : มังกรโคโมโด
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : รูเปียห์ (Rupiah) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4. ข้อมูล ประเทศลาว (ฺLAOS)
เมืองหลวง ลาว : เวียงจันทร์
ศาสนา : ศาสนาพุทธ(เถรวาท) คริสต์ อิสลาม นับถือผี
วันชาติ ลาว : วันที่ 2 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ลาว : สาธารณรัฐสังคมนิยม พรรคการเมืองเดียว คือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาว 
พื้นที่ : ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ลาว : ซุบไก่ (Chicken Soup)
สัตว์ประจำชาติ ลาว : ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง 
สกุลเงิน ลาว : กีบ (Kip)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  เข้าร่วมสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 8 วันที่ 23 ก.ค. 1997

5. ข้อมูล ประเทศมาเลเซีย (ฺMALAYSIA)
เมืองหลวง มาเลเซีย : กัวลาลัมเปอร์ 
ศาสนา : อิสลาม ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4, พุทธ ร้อยละ 19.2, คริสต์ ร้อยละ 11.6, ฮินดู ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
วันชาติ มาเลเซีย : 31 สิงหาคม วันชาติมาเลเซีย
การเมืองการปกครอง มาเลเซีย : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
พื้นที่ :  ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10% 
ภาษา : ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
อาหารประจำชาติ มาเลเซีย : นาซิเลอมัก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย  เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร, สะเต๊ะ เป็นอาหารที่รู้จักแพร่หลาย  นิยมใช้เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ย่างบนเตาถ่าน  รับประทานกับน้ำจิ้มรสชาติหวานหอมเผ็ด และเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : เสือโคร่ง
สกุลเงิน มาเลเซีย : ริงกิต (Ringgit) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6. ข้อมูล ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (MYANMAR)
เมืองหลวง เมียนมาร์ : เนปีดอ (Naypyidaw)
ศาสนา : พุทธ 90%, คริสต์ 5%, อิสลาม 3.8%
วันชาติ : วันที่ 4 มกราคม
การเมืองการปกครอง เมียนมาร์ : ระบบเผด็จการทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
พื้นที่ :  677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เมียนมาร์ : หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า คือใบชาหมักทานกับเครื่องเคียง
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : จ๊าด (Kyat) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1997

7. ข้อมูล ประเทศฟิลิปปินส์ (PHILIPPINES)
เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
ศาสนา : ร้อยละ 92.5 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
วันชาติ ฟิลิปปินส์ : 12 มิถุนายน
การเมืองการปกครอง ฟิลิปปินส์ : ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
พื้นที่ :  300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา : ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : อโดโบ้ (Adobo) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม ของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากหมู หรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบ หรือทอด และรับประทานกับข้าว
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : เปโซ (Peso)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 8 สิงหาคม
เจาะลึก ข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์  >>

8. ข้อมูล ประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)
เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
ศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
วันชาติ : วันที่ 9 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง สิงคโปร์ : ปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภาวาระคราวละ 5
พื้นที่ :  697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา : ภาษาราชการ มี 4 ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
อาหารประจำชาติ สิงคโปร์ : ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
สกุลเงิน สิงคโปร์ : ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

9. ข้อมูล ประเทศเวียดนาม (VIETNAM)
เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม
วันชาติ : วันที่ 2 กันยายน
การเมืองการปกครอง เวียดนาม : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
พื้นที่ :  331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 89,693,000 คน
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ เวียดนาม : แหนม หรือ ปอเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารยอดนิยมของเวียดนาม หนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุด
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด
สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : กระบือ
สกุลเงิน เวียดนาม : ด่ง (Dong) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : วันที่ 28 มกราคม 1995

10. ข้อมูล ประเทศไทย (THAILAND)
เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
ศาสนา : พุทธ 93.83%, อิสลาม 4.56%, คริสต์ 0.80%, ฮินดู 0.086%, ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36%
วันชาติ : วันที่ 5 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ไทย: ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 65,124,716 คน
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
อาหารประจำชาติ ไทย:  ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong), ส้มตำ
สัตว์ประจำชาติ ไทย: ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
สกุลเงิน ไทย : บาท (Baht)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 8 สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน 5 ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3.สีประจำอาเซียนมีกี่สี อะไรบ้าง
ที่มา http://www.hilight.kapook.com
        http://www.kiriwong.ac.th/index.php
        http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net

ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
            สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
            สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
            สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
            สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
 สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งอาเซียนมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย เป็นต้น
 และเพื่อเป็นการทำความรู้จักประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น

ธงอาเซียน ได้รับการออกแบบได้มีลักษณะเรียบง่าย แต่สามารถสื่อความหมายการรวมตัวกันของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยธงอาเซียนนี้ ได้ถูกออกแบบให้มีพื้นสีน้ำเงิน มีต้นข้าวสีเหลืองทองจำนวน 10 ต้น (แทนความหมายของชาติสมาชิกทั้ง 10) อยู่ตรงกลาง ซึ่งต้นข้าวทั้ง 10 ต้นนี้อยู่ในวงกลมสีแดง และขอบของวงกลมสีขาว
ความหมายของสีต่างๆในธงอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ส่วนต้นข้าวสีเหลืองทั้ง 10 ต้นในธงอาเซียน หมายถึง จำนวนชาติสมาชิกของ ASEAN จำนวน 10 ประเทศ อันได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า พร้อมสัญลักษณ์การมัดรวมกัน เพื่อแทนความหมายของการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว

ดังนั้นเมื่อนำสัญลักษณ์และความหมายของสีต่างๆมารวมกัน จึงทำให้ธงอาเซียนมีความหมายดังนี้ “การรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ด้วยความบริสุทธิ์และกล้าหาญ เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าของมวลหมู่สมาชิกและประชากรอาเซียนทั้งปวง”

4.สีประจำอาเซียนแต่ละสีมีความหมายว่าอย่างไร
ที่มา http://www.hilight.kapook.com
        http://www.kiriwong.ac.th/index.php
        http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net


สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งอาเซียนมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใน ก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่น ๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย เป็นต้น
 และเพื่อเป็นการทำความรู้จักประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น
ธงชาติอาเซียน มีสัญลักษณ์คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
            สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
            สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
            สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
            สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

5.อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อไหร่ และมีประเทศอะไรบ้าง
ที่มา http://www.thai-aec.com
        http://www.asean.bangkok.go.th/asean/index.php
        http://guru.sanook.com

       ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน

จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ

1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม

เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558

ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน

สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า

ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป




การก่อตั้งอาเซียน

     สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา (Association of South-East Asia : ASA)  ก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2504  โดยมีสมาชิก 3 ประเทศได้แก่ ฟิลิปปินส์ สหพันธ์มลายา และไทย  เป้าหมายหลักเพื่อช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  แต่ราวปลายปี พ.ศ. 2505 เกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างสหพันธ์มลายากับฟิลิปปินส์จึงได้ยุติความสัมพันธ์กันไป  รวมทั้งสิงคโปร์ได้ขอแยกตัวออกจากสหพันธ์มลายา ในปี พ.ศ.2508 

     แต่เนื่องจากห้วงเวลานั้นเป็นยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองบนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์  ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาคด้วยเช่นกัน  รวมทั้งมีความตึงเครียดอันเป็นผลมาจากสงครามเย็นซึ่งเป็นความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์  ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค  ดังนั้น อินโดนีเซียและมาเลเซียจึงได้ริเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ภายในภูมิภาคขึ้นมาใหม่ภายใต้การรวมตัวเป็น “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ “อาเซียน” (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN)  

     อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยการลงนามในปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่าปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)  โดยผู้แทนประเทศสมาชิกที่ร่วมนามก่อตั้งอาเซียนมี 5 ประเทศ ได้แก่ นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประทศอินโดนีเซีย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาแห่งชาติมาเลเซีย นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันต์ รัฐมนตรีต่างประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510  ณ วังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร

     อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อเร่งรัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างกัน  ส่งเสริมพื้นฐานและเสถียรภาพในภูมิภาคโดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ

     ในเวลาต่อจากนั้น ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2527 เวียดนามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2538  ลาวและพม่าเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542  เมื่อรับกัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิกทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ

     ทั้งนี้  การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้สอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียน ซึ่งระบุไว้ว่าอาเซียนพร้อมรับทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พร้อมที่จะรับเป้าหมาย หลักการและวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสมาชิก

 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "สมาคมอาเซียน" (Association of Southeast Asian Nations - ASEAN) โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันลงนามใน "คำประกาศอาเซียน" (ASEAN Declaration) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการครองชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ และความเจริญในทางเทคนิค วิชาการร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และ กัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ ทั้งนี้อาเซียนมีจุดเริ่มต้นมาจาก สมาคมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาสา" (Association of Southest Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินมาได้ไม่นานก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ในที่สุดก็ยุบรวมเข้าเป็นสมาคมอาเซียน และดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ของอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้ประตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการของสมาคม ล่าสุดอาเซียนได้แต่งตั้งให้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งจะดำรงตำในวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่จะถึงนี้

6.คำขวัญอาเซียนคืออะไร
ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/
       http://www.thai-asean.exteen.com
       http://www.thai-aec.com

คำขวัญอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หรือ One Vision, One Identity, One Community
คําขวัญอาเซียน

คําขวัญอาเซียน (ASEAN’s motto) คือ
 “One Vision, One Identity, One Community”
 แปลเป็นไทยได้ว่า 
 “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
คำขวัญอาเซียนเปรียบเสมือนตัวแทนภาพรวมของประชาคมอาเซียน ที่แตกต่าง หลากหลาย รวมเป็น
 หนึ่งเดียวกันการรวมกลุ่มกันได้ของอาเซียนจึงเป็นที่น่าจับตาของชาวโลกในการต่อรองอำนาจกับ
 มหาอำนาจใหญ่ๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในการ เป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนเพื่อสนับสนุนซึ่งกัน
 และกัน รวมถึงการแข่งขันการปรับตัวของสมาชิก เพื่อไปต่อสู้ฝ่าฟันกันภายนอกกลุ่มนั่นเอง
 เป็นการบอกถึงการร่วมมือกันในทุกๆด้านๆของชาวอาเซียน